ฐานผึ้งชันโรง

23 มีนาคม 2565 (ผู้ดูแลระบบ) ฐานความรู้ ศูนย์การเรียนรู้แม่ลาน

รายการทรัพยากรนำเข้าระบบฐานข้อมูลแม่ลาน (ฐานผึ้งชันโรง)

ลำดับ

รายการ

เจ้าของผลงาน

ปีที่เผยแพร่

รายละเอียด

ลิงก์

ลิงก์การลงข้อมูลในระบบคลังฯ

1

การเลี้ยงผึ้งชันโรง

อิสมะแอ เจ๊ะหลง

2564

วิดีโอโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ให้ประชาชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ JAPO Mode เรื่อง การเลี้ยงผึ้งชันโรง

https://youtu.be/j
qDajjVzfqU

https://wb.yru.ac.th/ha
ndle/yru/6033

2

รายงานผลการดำเนินงานฐานผึ้งชันโรง

อิสมะแอ เจ๊ะหลง

2564

สรุปรายงานผลการดำเนินงานฐานผึ้งชันโรง ตั้งแต่ปี 2561 ที่เริ่มใช้งบประมาณ จนถึงปี 2563 เนื้อหาประกอบไปด้วย การทำวิจัย การเรียนการสอน การบริการวิชการ การสร้างรายได้ และการสร้าง Model

https://drive.googl
e.com/file/d/1JB6
PtTCOXnoHKb3_S
HgGJ3UGpRLrmdu
C/view?usp=sharing

 

https://wb.yru.ac.th/ha
ndle/yru/6031

3

การวิเคราะห์สารพฤกษเคมีเบื้องต้นฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและการเตรียมโลชั่นผสมสารสกัดพรอพอลิสจากผึ้งชันโรง

อิมรอน มีชัย ดรุณี ยือแร และอิสมะแอ เจ๊ะหลง

2563

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สารพฤกษเคมีเบื้องต้นฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและการเตรียมโลชั่นผสมสารสกัดพรอพอลิสจากผึ้งชันโรงสายพันธุ์ Geniotrigona thoracica สารสกัดหยาบพรอพอลิสถูกสกัดด้วยวิธีรีฟลักซ์โดยใช้ตัวทำละลายเอทานอลเป็นเวลา 1 ชั่วโมงและสกัดหยาบส่วนเอทานอล (EE) ถูกสกัดแยกด้วยตัวทำละลายเฮกเซน และเอทิลอะซิเตทตามลำดับได้สารสกัดหยาบ 3 ส่วนได้แก่สารสกัดหยาบส่วนเฮกเซน (HE) สกัดหยาบส่วนเอทิลอะซิเตท (EAE) และสารสกัดส่วนที่ไม่ละลาย (RE) ในการทดสอบสารพฤกษเคมีเบื้องต้นพบว่าสารสกัดหยาบทั้ง 4 ชนิดประกอบด้วยสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ คูมาริน ซาโปนิน เทอร์ปีนอยด์ สเตียรอยด์ และคาร์ดิแอคไกลโคไซด์ในส่วนผลการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระพบว่าสารสกัดหยาบ EAE มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุดโดยให้ค่า IC50 เท่ากับ 262.43 ไมโครกรัมต่อมิลลิตรและปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดเท่ากับ 60.13 มิลลิกรัมแกลลิกต่อกรัมของสารสกัดพรอพอลิสดังนั้นส่วนสกัดหยาบ EAE จึงถูกเลือกนาไปเตรียมโลชั่นโดยโลชั่นถูกเตรียมทั้งหมด 5 สูตร (F1-F5) ที่มีความเข้มข้นของสารสกัดรพรอพอลิสแตกต่างกันและทำการวิเคราะห์สมบัติทางเคมีกายภาพและความคงตัว ผลการศึกษาพบว่าโลชั่นทุกสูตรมีลักษณะอิมัลชันเป็นประเภทน้ำมันในน้ำ (O/W) และมีค่าพีเอชอยู่ในช่วง 5.53-6.50 โดยที่โลชั่นสูตร F3 เป็นสูตรที่ดีซึ่งมีความเป็นเนื้อเดียวกันและมีความคงตัวต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ที่อุณหภูมิ 30±2 และ 4±2 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 7 วัน 15 วัน และ 30 วันอย่างไรก็ตามประสิทธิภาพในการยับยั้งอนุมูลอิสระนั้นลดลงเมื่อถูกเก็บไว้เป็นเวลานานจากข้อมูลวิจัยนี้อาจใช้ในการพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์โลชั่นที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากพรอพอลิสต่อไป

https://drive.googl
e.com/file/d/12cU
-7wyAeIGqq3f0Wl
JSuz45v0WzqptY/
view?usp=sharing

https://wb.yru.ac.th/ha
ndle/yru/6358

4

ผลของการเก็บรักษาพรอพอลิสของผึ้งชันโรงต่อ

ปริมาณฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์รวมและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ

อิมรอน มีชัย คอรีเยาะ มาฮามะ อิสมะแอ เจ๊ะหลง และอัซอารีย์ สุขสุวรรณ

2564

พรอพอลิสเป็นผลิตภัณฑ์ที่ถูกสร้างโดยผึ้งชันโรงซึ่งประกอบด้วยกลุ่มสารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเช่นกลุ่มสารประกอบฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์ในสมัยก่อนพรอพอลิสถูกใช้เป็นยารักษาโรคในช่องปากและสมานแผลในปัจจุบันพรอพอลิสถูกน ามาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อจาหน่ายหลายชนิดเช่นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและสบู่อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการเก็บรักษาหลังการเก็บเกี่ยวต่อฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารประกอบฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์รวมของพรอพอลิสของผึ้งชั้นโรงในการวิจัยครั้งนี้ได้ศึกษาผลความแตกต่างของสภาวะการเก็บรักษาประกอบด้วยลักษณะการบรรจุและอุณหภูมิของพรอพอลิสของผึ้งชันโรงต่อปริมาณฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์รวมและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยพรอพอลิสจากผึ้งชันโรงชนิดGeniotrigono thorocicaถูกสกัดด้วยวิธีรีฟลักซ์ในตัวท าละลายเอทานอลและวิเคราะห์หาปริมาณฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์รวมและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี Folin-Ciocalteu method, Aluminium Chloride Colorimetry methodและ DPPH (2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl) ตามลำดับก่อนและหลังการเก็บรักษาเพื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงซึ่งในการศึกษาครั้งนี้พบว่าการเก็บรักษาพรอพอลิสที่บรรจุแบบสุญญากาศและเก็บไว้ที่อุณหภูมิ -15 ถึง -10 องศาเซลเซียสเป็นสภาวะที่เหมาะต่อการเก็บรักษาการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าลักษณะบรรจุภัณฑ์และและอุณหภูมิมีผลต่อปริมาณพฤกษเคมีและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ

https://drive.googl
e.com/file/d/1fWs
z0PJNCn0_4BUEsN
R6Qn7BAbEx_sOz/
view?usp=sharing

https://wb.yru.ac.th/ha
ndle/yru/6359

5

สารพฤกษเคมีและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของน้ำผึ้งชันโรงและการเตรียมเจลสบู่เหลวผสมน้ำผึ้งชันโรง

อิมรอน มีชัย รอกีเยาะ มะ และอิสมะแอ เจ๊ะหลง

2563

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบพฤกษเคมีเบื้องต้น ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและปริมาณฟีนอลิกรวมของน้ำผึ้งชันโรงชนิดอิตามา (Heterotrigona itama) พร้อมทั้งเตรียมเจลสบูเหลวผสมนน้ำผึ้งชันโรงและประเมินตรวจสอบคุณสมบัติทางเคมีกายภาพและความคงตัวของเจลสบูเหลวเปนระยะเวลา 30 วัน ที่อุณหภูมิห้องและภายใต้อุณหภูมิ 4 - 8 องศาเซลเซียส ผลการตรวจวิเคราะห์สารพฤกษเคมีเบื้องต้นพบสาร 5 กลุม ได้แก ฟลาโวนอยด์ คูมาริน ซาโปนิน แทนนิน และเทอร์ปีนอยด์ สำหรับฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่วิเคราะห์ด้วยวิธีดีพีพีเอช พบวาน้ำผึ้งชันโรงมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ 769.13 ± 63.27 มิลลิกรัมสมมูลของวิตามินซีตอหนึ่งร้อยกรัมของน้ำผึ้ง สวนปริมาณฟีนอลิกรวมอยูที่ 556.88 ± 20.11 มิลลิกรัมสมมูลของแกลลิกตอหนึ่งร้อยกรัมของน้ำผึ้ง ซึ่งข้อมูลนี้บงชี้ให้เห็นวาน้ำผึ้งชันโรงมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระที่ดีและมีปริมาณฟีนอลิกรวมที่สูง นอกจากนี้ผลการตรวจสอบคุณสมบัติทางเคมีและความคงตัวของเจลสบูเหลวผสมน้ำผึ้งชันโรงพบวาเปนไปตามมาตรฐานมอก. 1403 - 2551

https://drive.googl
e.com/file/d/1N3
22TQQMDU5KeO
-MK_MyQ5QnZ2lh
wQ5E/view?usp=s
haring

https://wb.yru.ac.th/ha
ndle/yru/6360